วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์


วันคริสต์มาส




          คริสต์มาส (Christmas หรือ X'Mas) คือ เทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน Imageประวัติ คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า" Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
          ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้ง อาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า  พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริย เทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย


องค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาส

คำอวยพร  
           สำหรับเทศกาลคริสมาสใช้ คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย

ซานตาคลอส 


           นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุง เงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ซานตาครอสจริงๆแล้ว แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย นักบุญนิโคลาส เป็นนักบุญ ที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเด็กๆ  เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็อยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ  ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปในอเมริกา โดย มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่อ้วนใส่ชุดสีแดงอาศัย อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อน เป็นยานพาหนะมีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมา ทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้ เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติ ของเขา

ต้นคริสต์มาส


             ต้นคริสต์มาสหรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน การตกแต่งนี้ย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก
           นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของ พระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น




วันอีสเตอร์ 





                 วันอีสเตอร์ คือ วันอาทิตย์แห่งการฟื้นคืนพระชนม์ขององค์พระเยซูคริสต์ เป็นวันที่มีความสำคัญมากวันหนึ่งและมีการเฉลิมฉลองกันของชาวคริสต์ จัดขึ้นระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ในนิกายออร์โธดอกส์จะจัดขึ้นระหว่างต้นเดือนเมษายนถึงต้นเดือน พฤษภาคม(กำหนดขึ้นเป็นวันใดวันหนึ่งในช่วงเวลานี้)เพื่อเป็นการสรรเสริญใน การที่พระเยซูได้เป็นขึ้นมาจากความตาย ตามความเชื่อที่ว่าภายหลังสามวันที่พระเยซูได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและทรง ฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ตรงกับช่วงเวลาเทศกาลปัสกาของชาวยิว
          สมัยก่อน คริสตจักรต่างๆ จัดฉลองวันอีสเตอร์ในวันอาทิตย์ที่ไม่ตรงกัน จนถึงปี ค.ศ.325 สภาไนเซียหรือสภาผู้นำคริสตจักรทั่วโลกได้ประชุม และมีมติให้กำหนดแน่นอน ให้คริสตจักรทั่วโลกฉลองเทศกาลอีสเตอร์ให้ตรงกัน โดยกำหนดวันอีสเตอร์คำนวนตามระบบจันทรคติ ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้การฉลองวันที่พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย ตรงกับเหตุการณ์ในครั้งแรกจริงๆ


วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว



นางสาวณัฐริกา  อักษรเขต
 ชื่อเล่นมิว อายุ 19 ปี 
มีพี่น้องจำนวน 4 คน  
ภูมิลำเนา จังหวัดชุมพร
กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย


วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม



วันอาซูรออ์








                อาชูรออ์ แปลว่า วันที่ 10 เป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิมามฮุเซนบิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในสงคราม อัฏฏ็อฟ ในอิรัก เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 มุสลิมในประเทศไทย มีการทำอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า บูโบร์อาชูรอ เป็นคำในภาษา
มลายูปาตานี - กลันตัน เป็นชื่อขนมกวนชนิดหนึ่ง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า บูบูรอาชูรออ์ ในภาษามลายูมาตรฐานที่แปลว่า ขนมกวนวันที่สิบนั่นเอง อาชูรออ์ เป็นคำที่ยืมจากภาษาอาหรับอาชูรออ์ แปลว่าวันที่ 10 ซึ่งในอิสลามหมายถึงวันที่ 10 แห่งเดือน มุฮัรรอม แห่งปฏิทินอิสลาม 
         ชาวมลายูในภาคใต้ จะมีการทำบุญร่วมกัน โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ วิธีการทำก็คือ โดยการ กวนข้าว น้ำตาล
มะพร้าว กล้วย ผลไม้อื่นๆ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมา เอามาผสมกันในกะทะใหญ่ และช่วยกัน กวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรส ให้มีรสชาติหวาน ตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อย จนกระทั่งว่า ได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาดรอให้ขนมเย็นเอาไปเลี้ยงคน หรืออาจจะเก็บ ไว้กินวันต่อไปก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ผู้รู้เชื่อว่าประเพณีการกวนขนมในวันนี้ เป็นประเพณีของชีอะหฺ แม้ว่า จะมีการอ้างว่ารำลึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ก็ตาม มุสลิมซุนนีย์บางพวกจะถือศีลอดงดอาหารในวันอาชูรออ์


วันการถือศีลอด





        การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ
การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส
         ระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ .ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน มีปรากฏว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าดั่งที่ได้ถูกกำหนด แก่เขาเหล่านั้น ก่อนหน้าสู เจ้ามาแล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว” จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้น ได้เคยมีมาแล้วใน ประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์โบราณนิยมถือศีลอด กันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลาย ไปยัง ชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีก ยังได้นำการถือศีลอดนี้ ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยม การถือศีลอด ตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซาศาสดาของ ชาวยิวได้ถือศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดยกษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำ โดยชาวโรมันใน ค.ศ.70 การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆ กัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหารหนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอด หมายถึง การอดอาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ ถูกกำหนดบังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติ ใน เดือน ซะอบาน (เดือนที่ 8) หลังจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพจาก มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้ การถือศีลอดเป็นการทดลอง และฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการ ขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจ ใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

วันเมาลิด





     เมาลิด เป็นคำนามเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งจะแปลความหมายเป็นเวลา หรือสถานที่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับ ส่วนขยายภายในประโยค  ดังนั้น เมาลิด หมายถึง สถานที่เกิดของท่านนบีอย่างแน่นอน 

เมาลิดนบีตรงกับวันอะไร 
     นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันจันทร์เดือน รอบีอุลเอาวัล ปีช้าง เพราะท่าน อิมามมุสลิมได้บันทึกหะดีษไว้ในหนังสือ ซ่อเฮียหของท่านจาก อบีกอตาดะฮรฎิฯ ว่าท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านกล่าวว่า “นั่นคือวันที่ฉันเกิด วันที่ฉันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบี และเป็นวันที่อัลกรุอานได้ถูกประทาน มายังฉัน”  แต่จะตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน ท่านอิบนุอิสหาก ผู้บันทึกชีวประวัติของท่านนบีคนแรกมีความเห็นว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ท่านอิบนุฮิชาม ได้รายงานอยู่ในหนังสือชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซีเราะฮ.อิบนิฮิชาม)

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

วันวิสาขบูชา



       วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้า"
              



วันมาฆบูชา



            วันมาฆบูชา (บาลีมาฆปูชาอักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย"มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน    (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

                

วันอาสาฬหบูชา


     วันอาสาฬหบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ "วันพระสงฆ์"เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักร  เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ และเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก